วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

นาฬิกาในห้องครัว

เรื่องนี้แปลมาจาก Die Küchenuhr ของ Wolfgang Brochert ค่ะ เป็นเรื่องสั้นที่อาจารย์เยอรมันเอามาให้อ่านก่อนปิดเทอม สมัยม.ห้า นิกชอบต้นฉบับมากเลยนะคะ แล้ววันแม่ที่ผ่านมาก็มาหวนนึกขึ้นได้ เลยกะจะแปลมาฉลองวันแม่สักหน่อย ที่ไหนได้ แปลเสร็จแล้วยังดองมาอีกเดือนกว่าแน่ะ เหอๆ ;p

เรื่องนี้เป็นงานแปลเรื่องแรกของนิกค่ะ มีอะไรก็ขอให้ช่วยติชมกันหน่อยนะคะ เพราะส่วนตัวแล้วชอบต้นฉบับมากๆ นี่ก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะสื่อความหมายออกมาได้ดีพอหรือเปล่า สมัยก่อนก็นึกว่างานแปลน่ะ ง่ายๆ ที่ไหนได้ มาแปลเองแล้วรู้สึกเลยค่ะ คำศัพท์ต่างๆ รวมทั้งสำนวนที่ใช้ในแต่ละภาษามันแปลตรงตัวกันได้ก็จริง แต่ศัพท์แต่ละตัวก็มีนัยยะที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นคนแปลก็อาจจะต้องปรับรูปแบบสำนวนบ้าง เพื่อให้สื่ออารมณ์ได้ในภาษาที่สอง แต่ก็ต้องระวังอีกแหละค่ะ ไม่งั้นก็จะเผลอตัวเปลี่ยนรูปของต้นฉบับมากเกินไปอีก นี่ก็ไม่กล้าอ่านทวนหลายรอบเกินไป เดี๋ยวจะสับสน เหอๆ ถ้าภาษาแปลกๆยังไง บอกกล่าวกันหน่อยนะคะ ส่วนใครที่อ่านภาษาเยอรมันรู้เรื่อง นิกแนะนำให้ไปอ่านต้นฉบับดีกว่าค่ะ พิมพ์ไว้ให้แล้ว อยู่นี่นะคะ Die Küchenuhr ค่ะ ^^


Disclaimer: Translated from ,Die Küchenuhr’ by Wolfgang Brochert (1921-1947). No rights infringement intended. All Rights Reserved.


นาฬิกาในห้องครัว

พวกเขาเห็นเขาเดินเข้ามาหาตั้งแต่ไกล นั่นก็เพราะว่าเขาดูสะดุดตา ในขณะที่เขามีใบหน้าที่ดูแก่ชรา ลักษณะท่าทางของเขากลับทำให้รู้ว่าเขามีอายุเพียงแค่ยี่สิบปีเท่านั้น เขานั่งลงบนม้านั่งเดียวกับพวกเขาพร้อมกับใบหน้าอันแก่ชรานั้น แล้วเขาก็เผยสิ่งที่ถืออยู่ในมือให้เห็น

“มันเคยเป็นนาฬิกาในห้องครัวของเรา” เขาพูดและมองผู้คนทั้งหลายที่นั่งอุ่นไอแดดอยู่บนม้านั่งตัวนั้นทีละคน “ใช่ ผมยังหามันเจอ มันยังอยู่”

เขายื่นนาฬิกาทรงกลมสีขาวกระเบื้องออกมา แล้วใช้นิ้วมือแตะตามตัวเลขสีฟ้าบนหน้าปัด

“มันไม่มีราคาอะไรอีกต่อไปแล้วล่ะ” เขาพูดอย่างสลดใจ “เรื่องนั้นผมก็รู้ แล้วมันก็ไม่ได้สวยอะไรเป็นพิเศษด้วย ก็เหมือนกับจานเคลือบสีขาวธรรมดาๆใบหนึ่ง แต่ผมว่าตัวเลขสีฟ้านี่มันก็ยังดูน่ารักดีอยู่นะ ส่วนเข็มนาฬิกาก็เป็นแค่ดีบุกธรรมดาๆทั่วไปนั่นแหละ แถมตอนนี้มันก็ไม่เดินอีกต่อไปแล้วด้วย ไม่หรอก ข้างในมันเสียหมดแล้วล่ะ เสียหมดแล้วแน่นอน แต่มันก็ยังดูเหมือนเดิมนะ ถึงแม้ว่าตอนนี้มันจะไม่เดินอีกต่อไปแล้วก็ตาม”

เขาไล้ปลายนิ้วมือเป็นวงกลมรอบๆขอบนาฬิกาอย่างระมัดระวัง และพูดเบาๆว่า

“และมันก็ยังเหลืออยู่”

ผู้คนที่นั่งอาบแดดอยู่บนม้านั่งต่างก็หลีกเลี่ยงที่จะสบตาเขา คนหนึ่งก้มมองรองเท้า ส่วนหญิงสาวก็ก้มมองในรถเข็นเด็กอ่อนของเธอ

แล้วใครสักคนก็พูดขึ้นมา

“คุณสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไปหมด?”

“ใช่ครับ ใช่” เขาพูดอย่างร่าเริง “คุณลองคิดดูสิ ทุกอย่างเลย! เหลือแค่เจ้านี่แหละ มันยังเหลืออยู่”

แล้วเขาก็ชูนาฬิกาสูงขึ้น เหมือนกับว่าคนอื่นยังไม่เคยรู้จักมันมาก่อน

“แต่มันไม่เดินแล้วนี่” ผู้หญิงคนนั้นพูด

“ไม่ ไม่ มันไม่เดินแล้ว มันเสียแล้วล่ะ เรื่องนี้ผมรู้ดี แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังเป็นเหมือนเดิมนะ เป็นสีขาวกับสีฟ้า”

แล้วเขาก็ยื่นนาฬิกาให้ทุกคนดูอีกครั้ง

“แล้วสิ่งที่สวยงามที่สุด” เขาพูดต่อไปอย่างกระตือรือล้น “เรื่องนั้นผมยังไม่ได้อธิบายให้พวกคุณฟังเลยสักนิดเดียว สิ่งที่สวยงามที่สุดมันคือเรื่องที่ผมกำลังจะบอกนี่ต่างหาก คุณลองคิดดูนะ นาฬิกามันหยุดเดินตอนสองโมงครึ่ง สองโมงครึ่งพอดี คุณคิดดู”

“อย่างนั้นก็แสดงว่าบ้านของคุณโดนระเบิดตอนสองโมงครึ่ง” ชายคนหนึ่งพูดพร้อมกับยื่นริมฝีปากล่างออกมาด้วยท่าทางสำคัญตน
“ผมเคยได้ยินมานักต่อนักแล้ว นาฬิกาจะหยุดเวลาระเบิดลง มันเป็นผลมาจากแรงกดดัน”

เขามองนาฬิกาของเขาแล้วส่ายหัวอย่างไตร่ตรอง

“ไม่ใช่หรอกครับ คุณผิดแล้วล่ะ มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องระเบิดเลยสักนิดเดียว อย่าคอยพูดถึงแต่เรื่องระเบิดสิครับ ไม่หรอก เวลาสองโมงครึ่งเป็นอะไรที่ต่างจากนั้นอย่างสิ้นเชิงเลยล่ะ แค่พวกคุณไม่รู้เท่านั้นเอง แล้วนั่นล่ะ คือเรื่องตลก เรื่องที่นาฬิกามันหยุดอยู่ตอนสองโมงครึ่งพอดี ไม่ใช่สี่โมงสิบห้านาที หรือเจ็ดโมง ผมเคยกลับถึงบ้านตอนสองโมงครึ่งตลอดไง ผมหมายถึงตอนกลางคืนนะ ตีสองครึ่งเกือบตลอดเลย นั่นแหละ เรื่องตลกล่ะ”

เขามองไปที่คนอื่นๆ แต่พวกเขาก็ได้ถอนสายตากลับไปแล้ว เขาไม่ได้สบตาใคร แล้วเขาก็เอียงนาฬิกาของเขาขึ้น

“แล้วตอนนั้นผมก็หิวสิ จริงไหม? ผมเลยเดินตรงไปที่ห้องครัวก่อนทุกที ป่านนั้นก็เกือบตีสองครึ่งตลอด แล้วจากนั้นแม่ผมก็มา ถึงผมจะเปิดประตูให้เบาสักแค่ไหน ท่านก็ได้ยินทุกครั้ง แล้วเวลาผมกำลังหาอะไรกินมืดๆอยู่ในครัว อยู่ๆไฟฟ้าก็จะสว่างขึ้น แล้วท่านก็จะยืนอยู่ตรงนั้นในเสื้อกันหนาวขนแกะกับผ้าพันคอสีแดง เท้าเปล่านะ เท้าเปล่าทุกครั้ง แล้วสมัยนั้นพื้นห้องครัวของเราก็เป็นพื้นกระเบื้อง แล้วท่านก็จะหรี่ตาลงเพราะแสงมันจ้าเหลือเกิน และท่านก็นอนหลับมาแล้วตื่นหนึ่ง ก็มันตอนกลางคืนนี่นะ”
“แล้วท่านก็จะพูดว่า ‘ดึกอีกแล้วนะ’ แค่นั้น แค่ ‘ดึกอีกแล้วนะ’ แล้วท่านก็จะอุ่นขนมปังมื้อเย็นให้ผม แล้วดูว่าผมกินอะไรยังไง แล้วระหว่างนั้นท่านก็จะถูเท้าทั้งสองเข้าด้วยกันตลอดเพราะกระเบื้องมันเย็นมาก ท่านไม่เคยใส่รองเท้าตอนกลางคืนหรอก แล้วท่านก็นั่งกับผมตั้งนานจนผมอิ่ม หลังจากผมปิดไฟในห้องของผมแล้ว ผมก็จะยังได้ยินเสียงท่านเก็บจานอยู่ เป็นอย่างนี้อยู่ทุกๆคืน แล้วเกือบทุกคืนก็จะเป็นตอนตีสองครึ่ง มันเหมือนเป็นของตายเลยนะ ที่ท่านจะลงมาทำอะไรผมกินในห้องครัวตอนตีสองครึ่ง ผมเคยคิดอย่างนั้น ผมเคยคิดว่ามันเป็นของตาย ก็ท่านทำอย่างนั้นอยู่ทุกคืน แล้วท่านก็ไม่เคยพูดอะไรมากไปกว่า ‘ดึกอีกแล้วนะ’ ท่านพูดอย่างนั้นทุกครั้ง แล้วผมก็เคยคิดว่า มันไม่มีทางเปลี่ยนไปหรอก สำหรับผมแล้วมันเป็นเรื่องธรรมดามากๆที่ทุกอย่างจะเป็นอย่างนั้นไปตลอด”

ชั่วลมหายใจหนึ่ง ทุกสิ่งบนม้านั่งตัวนั้นหยุดนิ่ง แล้วเขาก็พูดขึ้นเบาๆ

“แล้วตอนนี้?”

เขามองคนอื่นๆแต่ก็ไม่มีใครสบตาเขาสักคน แล้วเขาก็พูดกับนาฬิกาหน้าปัดกลมๆสีฟ้าขาวเบาๆว่า

“ตอนนี้เหรอ ตอนนี้ผมรู้แล้วล่ะ ว่านั่นมันสวรรค์ชัดๆ สรวงสวรรค์ที่แท้จริง”

ทุกอย่างบนม้านั่งนิ่งสงัด แล้วผู้หญิงคนนั้นก็ถามขึ้น

“แล้วครอบครัวของคุณล่ะ?”

เขายิ้มแหยๆให้เธอ

“อ้อ คุณหมายถึงพ่อแม่ผม? ครับ ท่านไปแล้วทั้งคู่เหมือนกัน ทุกอย่างไปหมดแล้วล่ะ ไม่มีเหลือ คุณคิดดูสิ ทุกอย่างเลย”

เขายิ้มเฝื่อนๆให้ มองจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง แต่ก็ไม่มีใครสบตาเขา

เขาชูนาฬิกาให้สูงขึ้นอีกครั้งแล้วก็หัวเราะ เขาพูดพลาง หัวเราะไปพลางว่า

“เหลือแต่เจ้านี่แหละ มันยังอยู่ แล้วสิ่งที่สวยงามที่สุดก็คือ มันหยุดเดินตอนตีสองครึ่งพอดี ตีสองครึ่งพอดีเลย”

จากนั้นเขาก็ไม่ได้พูดอะไรอีก แต่เขาก็มีใบหน้าที่ดูแก่ชราเหลือเกิน ผู้ชายคนที่นั่งข้างๆเขาก้มมองรองเท้า แต่เขามองไม่เห็นรองเท้าหรอก ตลอดเวลานั้นเขากำลังคิดถึงคำว่า สรวงสวรรค์

By Wolfgang Borchert (1921-1947)

ศิริกมล ศรีสมิต แปล
17 สิงหาคม 2551

แก้ไขเพิ่มเติม 170119
ขอขอบคุณคุณวิชญ์ภาส พิมพ์อักษร สำหรับการพิสูจน์อักษร

Die Küchenuhr

Disclaimer: ,Die Küchenuhr’ von Wolfgang Brochert (1921-1947). All Rights Reserved.

Die Küchenuhr

Sie sahen ihn schon von weitem auf sich zukommen, denn er fiel auf. Er hatte ein ganz altes Gesicht, aber wie er ging, daran sah man, daß er erst zwanzig war. Er setzte sich mit seinem alten Gesicht zu ihnen auf die Bank. Und dann zeigte er ihnen, was er in der Hand trug.

Das war unsere Küchenuhr, sagte er und sah sie alle der Reihe nach an, die auf der Bank in der Sonne saßen. Ja, ich habe sie noch gefunden. Sie ist übriggeblieben.

Er hielt eine runde tellerweiße Küchenuhr vor sich hin und tupfte mit dem Finger die blaugemalten Zahlen ab.

Sie hat weiter keinen Wert, meinte er entschuldigend, das weiß ich auch. Und sie ist auch nicht so besonders schön. Sie ist nur wie ein Teller, so mit weißem Lack. Aber die blauen Zahlen sehen doch ganz hübsch aus, finde ich. Die Zeiger sind natürlich nur aus Blech. Und nun gehen sie auch nicht mehr. Nein. Innerlich ist sie kaputt, das steht fest. Aber sie sieht noch aus wie immer. Auch wenn sie jetzt nicht mehr geht.

Er machte mit der Fingerspitze einen vorsichtigen Kreis auf dem Rand der Telleruhr entlang. Und er sagte leise:
Und sie ist übriggeblieben.

Die auf der Bank in der Sonne saßen, sahen ihn nicht an. Einer sah auf seine Schuhe und die Frau sah in ihren Kinderwagen.

Dann sagte jemand:
Sie haben wohl alles verloren?

Ja, ja, sagte er freudig, denken Sie, aber auch alles! Nur sie hier, sie ist übrig. Und er hob die Uhr wieder hoch, als ob die anderen sie noch nicht kannten.

Aber sie geht doch nicht mehr, sagte die Frau.

Nein, nein, das nicht. Kaputt ist sie, das weiß ich wohl. Aber sonst ist sie doch noch ganz wie immer: weiß und blau. Und wieder zeigte er ihnen seine Uhr. Und was das Schönste ist, fuhr er aufgeregt fort, da habe ich Ihnen ja noch überhaupt nicht erzählt. Das Schönste kommt nämlich noch: Denken Sie mal, sie ist um halb drei stehengeblieben. Ausgerechnet um halb drei, denken Sie mal.

Dann wurde Ihr Haus sicher um halb drei getroffen, sagte der Mann und schob wichtig die Unterlippe vor. Das habe ich schon oft gehört. Wenn die Bombe runtergeht, bleiben die Uhren stehen. Das kommt von dem Druck.

Er sah seine Uhr an und schüttelte überlegen den Kopf.

Nein, lieber Herr, nein, da irren Sie sich. Das hat mit den Bomben nichts zu tun. Sie müssen nicht immer von den Bomben reden. Nein. Um halb drei war ganz etwas anderes, das wissen Sie nur nicht. Das ist nämlich der Witz, das sie gerade um halb drei stehengeblieben ist. Und nicht um Viertel nach vier oder um sieben. Um halb drei kam ich nämlich immer nach Hause. Nachts, meine ich. Fast immer um halb drei. Das ist ja gerade der Witz.

Er sah sie anderen an, aber die hatten ihren Augen von ihm weggenommen. Er fand sie nicht. Da nickte er seiner Uhr zu: Dann hatte ich natürlich Hunger, nicht wahr? Und ich ging immer gleich in die Küche. Da war es dann fast immer halb drei. Und dann, dann kam nämlich meine Mutter. Ich konnte noch so leise die Tür aufmachen, sie hat mich immer gehört. Und wenn ich in der dunkeln Küche etwas zu essen suchte, ging plötzlich das Licht an. Dann stand sie da in ihrer Wolljacke und mit einem roten Schal um. Und barfuß. Immer barfuß. Und dabei was unsere Küche gekachelt. Und sie machte ihre Augen ganz klein, weil ihr das Licht so hell war. Denn sie hatte ja schon geschlafen. Eswar ja Nacht.

So spät wieder, sagte sie dann. Mehr sagte sie nie. Nur: So spät wieder. Und dann machte sie mir das Abendbrot warm und sah zu, wie ich aß. Dabei scheuerte sie immer die Füße aneinander, weil die Kacheln so kalt waren. Schuhe zog sie nachts nie an. Und sie saß so lange bei mir, bis ich satt war. Und dann hörte ich sie noch die Teller wegsetzen, wenn ich in meinem Zimmer schon das Licht ausgemacht hatte. Jede nacht war es so. Und meistens immer um halb drei. Das war ganz selbstverständlich, fand ich, daß sie mir nachts um halb drei in der Küche das Essen machte. Ich fand das ganz selbstverständlich. Sie tat das ja immer. Und sie hat nie mehr gesagt als: So spät wieder. Aber das sagte sie jedesmal. Und ich dachte, das könnte nie aufhoren. Es war mir so selbstverständlich. Das alles war doch immer so gewesen.

Einen Atemzug lang war es ganz still auf der Bank. Dann sagte er leise: Und jetzt? Er sah die anderen an. Aber er fand sie nicht. Da sagte er der Uhr leise ins weißblaue runde Gesicht: Jetzt, jetzt weiß ich, daß es das Paradies war. Das richtige paradies.

Auf der Bank war es ganz still. Dann fragte die Frau:
Und Ihre Familie?

Er lächelte sie verlegen an: Ach, Sie meinen meine Eltern? Ja, die sind auch mit weg. Alles ist weg. Alles, stellen Sie sich vor. Alles weg.

Er lächelte verlegen von einem zum anderen. Aber sie sahen ihn nicht an.

Da hob er wieder die Uhr hoch und er lachte. Er lachte: Nur sie hier. Sie ist übrig. Und das Schönste ist ja, daß sie ausgerechnet um halb drei stehengeblieben ist. Ausgerechtnet um halb drei.

Dann sagte er nichts mehr. Aber er hatte ein ganz altes Gesicht. Und der Mann, der neben ihm saß, sah auf seine Schuhe. Aber er sah seine Schuhe nicht. Er dachte immerzu an das Wort paradies.

von Wolfgang Brochert (1921-1947)

Brochert kämpfte an der Front in Rußland, wurde verletzt und kam ins Krankenhaus; wurde dann wegen seiner kritischen Einstellung drei Monate lang in Einzelhaft gesetzt; wurde wieder an die Front geschickt und wieder aus politischen Gründen verhaftet; kehrte 1945 schwach und krank in seine hamburgische Heimat zurück und starb zwei jahre später.